Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

[รีวิวซีรีส์] juvenile justice หญิงเหล็กศาลเยาวชน – หญิงเหล็ก คดีเด็ก กับกฏหมายที่เบาหวิวและสังคมที่แหว่งวิ่น

ณ ตอนนี้ ซีรีส์จากเกาหลีใต้อย่าง ‘ juvenile justice ’ หรือ ‘หญิงเหล็กศาลเยาวชน’ ซีรีส์ Netflix Original เรื่องใหม่ที่เพิ่งเข้าฉายเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลายเป็นซีรีส์กระแสแรงที่กำลังติดอันดับหนึ่งอยู่ในตอนนี้ครับ และกระแสก็กำลังมาแรงขึ้นเรื่อย

Read More »

[รีวิวซีรีส์] thirty-nine รั่ว ฮา อบอุ่น น้ำตารื้น นี่แหละคือซีรีส์เรื่องนี้

thirty-nine เรื่องราวความรัก หน้าที่การงานและแง่มุมชีวิตของสามสาวเพื่อนซี้ ที่เกาะกลุ่มเหนียวแน่นกันมาตั้งแต่อายุ 18 ยาวนานจนถึงวัยที่กำลังจะก้าวย่างเข้าสู่หลัก 4 เป็นมิตรภาพความผูกพันที่ลึกซึ้งดุจครอบครัวเดียวกัน จนกระทั่งวันหนึ่งพวกเธอพบว่า เวลาของพวกเธอเหลือไม่มากแล้วที่จะอยู่ด้วยกันไปอย่างนี้จนข้ามผ่านแต่ละช่วงวัยที่รออยู่ข้างหน้าไปด้วยกัน เพราะการจากลาที่ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา กลับไม่ธรรมดาเอาซะเลยเมื่อการจากลานั้นกำลังมาถึงพวกเธอคนใดคนหนึ่ง เร็วเกินไป thirty-nine thirty-nine

Read More »

[รีวิวซีรีส์] twenty five – twenty one ซีรีส์ที่มีดีกว่าดักแก่เด็ก 90s (พร้อมวาร์ปนักแสดง)

twenty five – twenty one ไม่เคยแผ่วเลยจริง ๆ สำหรับซีรีส์เกาหลีที่ขยันจู่โจมคนดูในทุกช่องทางและแข่งคุณภาพกันแบบเอาเป็นเอาตาย และแน่นอนว่าสำหรับคนที่ดูซีรีส์เกาหลีค่อนข้างน้อยอย่างผม จะเลือกซีรีส์ดูแต่ละเรื่องก็ดูในหลาย ๆ องค์ประกอบและทันใดนั้น Netflix ก็แนะนำซีรีส์อย่าง ‘Twenty

Read More »

[รีวิวซีรีส์] twenty five – twenty one ซีรีส์ที่มีดีกว่าดักแก่เด็ก 90s (พร้อมวาร์ปนักแสดง)

twenty five – twenty one ไม่เคยแผ่วเลยจริง ๆ สำหรับซีรีส์เกาหลีที่ขยันจู่โจมคนดูในทุกช่องทางและแข่งคุณภาพกันแบบเอาเป็นเอาตาย และแน่นอนว่าสำหรับคนที่ดูซีรีส์เกาหลีค่อนข้างน้อยอย่างผม จะเลือกซีรีส์ดูแต่ละเรื่องก็ดูในหลาย ๆ องค์ประกอบและทันใดนั้น Netflix ก็แนะนำซีรีส์อย่าง ‘Twenty Five, Twenty One’ ที่ดูเผิน ๆ แทบจะตามรอยซีรีส์ในดวงใจใครหลายคนอย่างซีรีส์ตระกูล ‘Reply’ แต่ปรากฎว่าจุดแข็งสำคัญของมันคือการพูดถึงวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจที่มีชื่อว่าวิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2541 หรือ 1998 มาเล่าคู่ขนานกับวิกฤติโควิด 19 (Covid-19) ได้อย่างลงตัว

เปิดเรื่องย่อ twenty five – twenty one กีฬาฟันดาบ ความฝัน มิตรภาพและความทรงจำ

twenty five – twenty one เส้นเรื่องหลักของซีรีส์จะมีศูนย์กลางในปี 1998 นาฮีโด เธอคือลูกสาวของผู้ประกาศข่าวสาวชื่อดังที่ใฝ่ฝันจะเป็นนักกีฬาฟันดาบระดับประเทศเหมือน โกยูริม นักกีฬาระดับเหรียญทองจนถึงขั้นย้ายโรงเรียนและเข้าชมรมฟันดาบแต่ความฝันที่อยากจะสานสัมพันธ์กับโกยูริมก็กลายเป็นอากาศเมื่ออีกฝ่ายไม่รับในไมตรีของเธอและมองเป็นคู่แข่งเท่านั้น

ในขณะเดียวกันเธอก็ได้สานสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนสุดป่วนทั้ง จีซึงวาน หัวหน้าห้องผู้รักความถูกต้องและเป็นเจ้าของห้องเช่า มุนจีอุง หนุ่มหล่อเจ้าของฉายาไอ้น่ารักห้อง 7 ที่แอบมีใจให้โกยูริม รวมถึง แบ็กอีจิน อดีตลูกเศรษฐีตกอับเพราะพ่อล้มละลายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ พวกเขาได้ใช้เวลาที่ผันผ่านจากเดือนเป็นปีค่อย ๆ ปลูกสัมพันธ์อันงดงามปนเหตุการณ์ใจสลายที่มาขัดเกลาให้พวกเขาได้เติบโตขึ้น

แบ็กอีจินได้เข้ามาพัวพันในชีวิตของนาฮีโดและเริ่มสานสัมพันธ์ขึ้นทีละน้อยท่ามกลางอุปสรรคต่าง ๆ ที่มาพิสูจน์หัวใจของพวกเขาทั้งช่วงวัยและการงานที่คอยเข้ามาขวางความรักของทั้งคู่ไม่มีหยุดหย่อน ข้ามฟากมายังปี 2022 คิมมินแช ลูกสาวของนาฮีโดกำลังพลิกไดอารีของ นาฮีโด ผู้เป็นแม่เพื่อซึมซับเรื่องราวสุข ซึ้ง และเสียงหัวเราะปนคราบน้ำตาของผู้เป็นแม่ เพื่อเป็นการใช้เวลากับแม่และคุณยายในช่วงที่คุณพ่อของเธอถูกกักตัวหลังกลับจากต่างประเทศ แต่พ่อของคิมมินแชคือใครกันนะ

เรื่องราวของยุคสมัยที่เล่าได้อย่างเฉียบคม

จุดเด่นของ ‘Twenty Five, Twenty One’ คือการกำหนดให้เรื่องราว 2 ยุคที่ถูกเล่าตัดสลับกันมีเหตุการณ์ร่วมสมัยเกิดขึ้นทั้งวิกฤตเศรษฐกิจที่ในซีรีส์ใช้ชื่อว่า “วิกฤติ IMF” เพื่อบอกเงื่อนไขอะไรหลาย ๆ อย่างในปี 1998 ทั้งการที่พ่อของแบ็กอีจินล้มละลายและสร้างหนี้ไว้มากมาย หรือการที่ชมรมฟันดาบของโรงเรียนเก่าถูกยุบจนทำให้ นาฮีโดต้องพยายามย้ายโรงเรียนให้ได้ซึ่งเหล่านี้เองก็เอื้อให้ซีรีส์ได้ย้อนตะเข็บเส้นเวลานำเหตุการณ์ละอันพันละน้อยที่เข้ามากระทบกับชีวิตผู้คนในยุคนั้นมานำเสนอได้อย่างเห็นภาพและช่วยให้เรื่องราวเข้มข้นขึ้นมากมายเหลือเกิน

และโดยที่ไม่ต้องสังเกตซีรีส์ก็มีธีมอันว่าด้วย ‘ระยะห่าง’ ที่ถูกใช้บ่อยเหลือเกินทั้งในแง่กีฬาฟันดาบ ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว หรือเรื่องชนชั้นของนักเรียนในเรื่อง ไปจนถึงระยะห่างทางอาชีพระหว่างนักข่าวกีฬาอย่างแบ็คอีจินกับนาฮีโด ที่ซีรีส์สามารถหยิบยกเหตุการณ์วิกฤติIMFในเรื่องมาเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ตัวละครต้องมีระยะห่างกันได้อย่างเหมาะเหม็งและเราก็ต้องคอยลุ้นให้ระยะห่างดังกล่าวกระชับขึ้นให้ได้

ในขณะที่ปี 2022 แม้จะถูกตั้งไว้เพื่อเป็นโจทย์ให้คนดูติดตามไปถึงตอนจบว่าแท้จริงแล้ว พ่อของคิมมินแชคือใครจนหลายคนได้กลิ่นซีรีส์ตระกูล ‘Reply’ มาแต่ไกล และแม้จะพอถูไถได้ว่าซีรีส์เลือกสถานการณ์โควิดมาแค่จะคงธีมรักษาระยะห่างทางสังคมหรือการเอาเรื่องการกักตัวมาให้คนดูลุ้นเรื่องพ่อของคิมมินแชเท่านั้น หากแต่มันก็ไม่ได้ถูกนำเสนอแบบกลวงโบ๋เสียทีเดียวเพราะการยกเอาวิกฤติโรคระบาดอย่าง โควิด 19 (Covid-19) มาเปรียบเปรยก็ช่างเชื่อมโยงให้ผู้ชมที่เกิดไม่ทันสามารถเข้าใจสถานการณ์และอารมณ์ร่วมของยุคสมัยเชื่อมต่อกับเหล่าวัยรุ่นยุค IMF ได้เป็นอย่างดีและยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พวกเราต้องลุ้นกันว่านอกจากนาฮีโดแล้วเหล่าวัยรุ่นยุค IMF เติบโตมาอย่างไรบ้างซึ่งเหล่าตัวละครแวดล้อมก็ค่อย ๆ ทำให้เรารักพวกเขามากขึ้นเรื่อย ๆ เสียด้วย

ร้านเช่าการ์ตูน เพจเจอร์ ตู้โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือฝาพับ ปฐมบทโปรแกรมแชทและคลื่นวิทยุออนไลน์

เอาล่ะหลายคนคงรู้สึกว่าก็ไม่เห็นแปลกนี่ อุปกรณ์สื่อสารบนหัวข้อก็ถูกนำเสนอในหนังหรือซีรีส์ที่พูดถึงยุค 90s มามากมายแล้ว หากแต่ ‘Twenty Five, Twenty One’ กลับนำอุปกรณ์การสื่อสารเหล่านี้มาเล่าได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ใช่แค่กิมมิกไว้ขายดักแก่เท่านั้น แต่ของแต่ละอย่างก็มีเรื่องราวที่ผูกโยงตัวละครต่างกันและสามารถส่งเสริมการเล่าเรื่องได้เป็นอย่างดี

อย่างร้านเช่าการ์ตูนที่เด็กยุค 90s คุ้นเคยก็ถูกนำมาทำให้เป็นบริบทแรกของเรื่อง ‘ระยะห่าง’ ระหว่างแบ็กอีจินกับ นาฮีโดเพราะฝ่ายแรกอยู่ในฐานะพนักงานและฝ่ายหลังเป็นลูกค้า โดยการ์ตูนที่ใช้ดำเนินเรื่องคือ ‘Full House’ หรือฟูลเฮาส์ซึ่งซีรีส์ใช้ในการกำหนดช่วงเวลาได้อย่างดีเยี่ยมมีทั้งเหตุการณ์ฮา ๆ อย่างเล่ม 12 ถูกแม่ฉีกจนนาฮีโดต้องวาดด้วยลายเส้นง่อย ๆ แล้วแปะเรียกเสียงหัวเราะหรือการเอาเล่ม 15 ของฟูลเฮาส์มาเป็นเงื่อนไขที่แบ็กอีจินสัญญาว่าจะกลับมาหานาฮีโดในช่วงที่เขาจำเป็นต้องพาน้องชายหนีเจ้าหนี้กลับบ้าน

เพจเจอร์และตู้โทรศัพท์ ดูจะเป็นของคู่กันที่ช่วยให้นาฮีโดกับแบ็กอีจินได้ติดต่อสื่อสารและขยับ ‘ระยะห่าง’ ให้ใกล้กันมากขึ้น เพียงแต่มันไม่เพียงเป็นแค่อุปกรณ์การสื่อสารตามยุคสมัยที่ถูกดิสเพลย์ในเรื่องเท่านั้นตรงกันข้ามมันยังส่งผลต่อความสัมพันธ์โดยตรงโดยเฉพาะช่วงที่แบ็กอีจินต้องทิ้งเพจเจอร์เพื่อไม่ให้ใครหาเขาเจอ เราก็พบว่าพวกเขาทั้งคู่โหยหากันอย่างไม่แคร์สัญญาณโทรศัพท์และใช้เพียงเสียงที่ต่างฝ่ายต่างทิ้งไว้ในกล่องข้อความหรือเทปคาสเซ็ตต์มาปลอบประโลมคืนวันอันโหดร้ายให้ผ่านไป มิหนำซ้ำตู้โทรศัพท์ยังโผล่มามีบทบาทอีกครั้งในช่วงที่แบ็กอีจินทำอาชีพนักข่าวอีกด้วย

โทรศัพท์มือถือฝาพับ อันนี้ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะเป็นเหมือนการขายอดีตของ ‘Samsung’ ให้เราได้รู้ว่าเคยผลิตมือถือฝาพับด้วย แต่หากไม่นับเรื่องการตลาด โทรศัพท์มือถือยุคปลาย 90s ด้วยความที่ราคาสามารถจับต้องได้สำหรับชนชั้นกลางเราเลยได้เห็นซีนซึ้ง ๆ อย่างการที่แม่ของโกยูริมซื้อเป็นของขวัญให้เธอแม้ทางบ้านจะลำบากแค่ไหนก็ตาม หรือการทำให้เราเห็นว่ามือถือฝาพับที่เน้นแค่โทรเข้า-ออกและส่งข้อความสามารถมาทำหน้าที่แทนโชคชะตาได้ด้วยโดยเฉพาะซีนที่นาฮีโดลืมโทรศัพท์ไว้ที่ร้านขายยา

โปรแกรมแชต อันนี้เป็นเรื่องราวซับพล็อตเล็ก ๆ ที่อบอุ่นหัวใจมากเพราะเป็นยุคแรกของการสื่อสารแบบไม่เห็นหน้าและปกปิดตัวตน และแม้จะดูเป็นมุกเก่าที่ให้โกยูริมและนาฮีโดแอบเป็นเพื่อนกันในแชททั้งที่โลกภายนอกพวกเธอต่างขับเคี่ยวกันอย่างเอาเป็นอาตายในกีฬาฟันดาบก็ตามแต่ก็ต้องยอมรับว่าบทซีรีส์ก็เลือกจัดวางมันได้เข้ากับสถานการณ์มาก ๆ เพราะแม้ซีนก่อนหน้าเราจะเห็นความดุเดือดและสะเทือนใจแค่ไหนแต่พอถึงซีนที่ทั้งคู่ต่างปลอบประโลมกันผ่านตัวอักษรบนแชตก็อยากล่ะที่เราจะไม่ตกหลุมรักในความสัมพันธ์ของพวกเธอ

หลากเหตุการณ์ชวนลุ้นและใจสลาย

สำหรับอีเวนต์ใหญ่ในซีรีส์คงหนีไม่พ้นเอเชียนเกมส์ปี 1999 ที่กวังจู ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สมมติขึ้นนะครับ เพราะของจริงคือเอเชียนเกมส์ปี 1998 จัดที่กรุงเทพมหานคร แต่ซีรีส์ก็เลี่ยงบาลีและจินตนาการขึ้นใหม่เพื่อจะได้ชี้ให้เห็นผลกระทบของวิกฤติ IMF ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นี้จะกินเวลาทั้งสิ้น 3 ตอนได้แก่ตอนที่ 5-7 ซึ่งสร้างสถานการณ์ชวนบีบหัวใจมากมายทั้งการที่ต้องลุ้นให้นาฮีโดไปแข่งให้ทันหลังจากพบว่าดาบของเธอสลับกับคู่แข่งชาวญี่ปุ่นหรือผลกระทบหลังการแข่งขันที่บอกได้เลยว่าชวนใจสลายมาก ๆ

และน่าแปลกใจว่าในเนื้อเรื่องที่แม้จะเน้นไปที่ความรักและความทรงจำยุค 90s แต่มันกลับสอดแทรกเนื้อหาที่กล่าวถึงการทำหน้าที่สื่อมวลชนได้ชวนถกเถียงมาก ๆ เพราะไม่ว่าจะสมัยไหนสงครามข้อมูลข่าวสารก็มีคนที่ตกเป็นเหยื่อเสมอและในซีรีส์ก็ให้ตัวละครนำเป็นทั้งเหยื่อและสื่อมวลชน ซึ่งซีรีส์ถ่ายทอดเรื่องราวในส่วนนี้ออกมาได้ลึกซึ้งและไม่ฉาบฉวยเลย อีกเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปในตอนล่าสุดคือการหยิบยกความรุนแรงในโรงเรียนที่ทำให้ จีซึงวาน ไม่อาจเพิกเฉยต่อปัญหาแต่กลับเจอการตอกกลับจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำให้เธอพบว่าเยาวชนช่างมีสิทธิเสรีภาพในร่างกายน้อยเหลือเกินจนนำไปสู่บทสรุปที่เชื่อเลยว่าจะทำให้หัวใจคนดูสั่นสะเทือนแน่นอน

ทีมนักแสดงที่กุมหัวใจคนดูตั้งแต่ตอนแรก

สำหรับนักแสดงนำอย่าง คิมแทรี เราคงไม่ต้องสาธยายให้มากความเพราะนี่คือซีีรีส์เรื่องที่ 2 หลังการร่วมงานกับ Netflix ไปใน ‘Mr.Sunshine’ เมื่อหลายปีก่อนจนกระทั่งชองจีฮยอน ผู้ช่วยผู้กำกับและควอนโดอึนหนึ่งในทีมเขียนบทจากซีรีส์เรื่องดังกล่าวตัดสินใจทักทอเรื่องราวสุดประทับใจและให้คิมแทรีมารับบทนาฮีโดที่เชื่อว่าใครได้ดูก็ยากจะไม่ตกหลุมรักและเอาใจช่วยเธอทั้งในด้านกีฬาฟันดาบที่ล่าสุดได้ทำให้เกิดกระแสฟีเวอร์ทั้งในไทยและเกาหลีไปเรียบร้อย และไหนจะมาประกอบกับ นัมจูฮยอก หนุ่มหล่อจากซีรีส์ดัง ‘Start-Up’ มาทำให้สาว ๆ ใจละลายอีก

ส่วนนักแสดงสมทบก็ครบเครื่องทั้งความสวยหล่อและฝีมืออย่าง คิมจียอน อดีตสมาชิกวง ‘WJSN’ และ ‘Wonder Unit’ ก็รับบทโกยูริม แชมป์เหรียญทองฟันดาบที่ครบเครื่อง หรือจะเป็น ชเว ฮยอนอุก ที่พลิกภาพเด็กแสบจาก ‘Taxi Driver’ ซีรีส์สุดเดือดมาเป็นไอ้น่ารักห้อง7 อย่างมุน จีอุงได้น่ารักน่าชังทีเดียว และเอ็มวีพีที่ทำให้หลายคนพูดถึงก็คือ อีจูมยอง ที่รับบทจีซึงวาน หัวหน้าห้องที่เพิ่งทำให้ผู้ชมหัวใจอ่อนปวกเปียกและอดปรบมือให้เธอไม่ได้จากตอน 12 ที่ผ่านมา

เบาะแสที่ต้องลุ้นต่อ

สำหรับเบาะแสที่ต้องลุ้นต่อก็มีหลายทฤษฎีมาก ๆ ที่หลายคนคาดเดาว่าใครจะเป็นพ่อของคิมมินแช โดยทฤษฎีต่าง ๆ มีดังนี้

  • คิมมินแชเป็นลูกเลี้ยงของนาฮีโด เป็นที่สังเกตว่านี่เป็นตัวละครตระกูลคิมคนแรกในซีรีส์ ซึ่งแน่นอนว่าพ่อของของคิมมินแชก็น่าจะต้องเป็นตระกูลคิม ซึ่งหากคิดแบบเข้าข้างตัวเองก็เป็นได้ว่า นาฮีโดและแบ็กจีอินแต่งงานกันแต่รับเด็กมาเลี้ยง โดยตอนท้ายเป็นไปได้ว่านาฮีโดอาจมีเหตุบางอย่างที่ทำให้มีลูกไม่ได้
  • ท้ายสุดแล้วนาฮีโดก็ไปแต่งงานใหม่ เป็นไปได้ไหมว่าท้ายสุดแล้ว ‘ระยะห่าง’ ก็ทำให้นาฮีโดไม่สามารถครองคู่กับแบ็กจีอินได้ จนเธอได้แต่งงานใหม่กับคุณคิมที่เป็นสามีในปัจจุบัน
  • มีเหตุให้แบ็กจีอินต้องจากไป อันนี้มีคนตาดีไปเห็นรูปจากกองถ่ายที่ได้ถ่ายทำฉากสุดท้ายแล้วเห็นรูปอุโมงค์ ซึ่งซีรีส์หรือหนังที่มีอุโมงค์มักเป็นสัญลักษณ์ของการจากลา
  • เพลง Twenty-Five, Twenty-One เป็นเหตุ อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าชื่อหนังไปพ้องกับชื่อเพลง ‘ twenty five – twenty one ’ เพลงฮิตปี 2013 ของวงจาอูริม (Jaurim) ที่ซีรีส์นำทำนองมาใช้เป็นเพลงอินโทรของซีรีส์ ซึ่งกล่าวถึงช่วงเวลาในวัยรุ่นยุค 90s ที่ไม่อาจหวนมา

บทความที่เกี่ยวข้อง